(1) การแบ่งประเภทของเสาเข็มตามประเภทของการรับกำลัง

  • เสาเข็มแรงฝืด (FRICTION PILE) เป็นการที่ปลายของเสาเข็มไม่ได้หยั่งอยู่บนชั้นดินแข็ง กระบวนการรับกำลังจะอาศัยการเกิดแรงฝืดระหว่างผิวของเสาเข็มกับดินโดยรอบของเสาเข็ม เสาเข็มที่ตอกผ่านชั้นดินที่มีความเชื่อมแน่น หรือ ดินเหนียว (CLAY) จะเกิดแรงฝืดได้ดีกว่าดินที่ไม่มีความเชื่อมแน่น หรือ ทราย (SAND) เสาเข็มประเภทนี้จะเหมาะกับงานขนาดเล็ก เสาเข็มชนิดนี้อาจมีแรงต้านที่ปลายช่วยในการรับแรงด้วย แต่ก็ถือเป็นส่วนน้อยเมื่อเปรียบเทียบเทียบกับแรงฝืดที่เกิดขึ้นทั้งหมด จนบางครั้งถือว่าแรงแบกทานที่เข็มรับได้นี้เท่ากับศูนย์
  • เสาเข็มแรงต้านทานส่วนปลาย (END BEARING PILE) เป็นเสาเข็มที่ตอกลงถึงชั้นดินทราย หรือ ชั้นดินแข็ง เสาเข็มที่ลงถึงชั้นดินแข็งเพียงพอจะช่วยลดการทรุดตัว โดยเสาเข็มควรจมอยู่ในชั้นดินแข็งไม่น้อยกว่า 1-3 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเสา เสาเข็มแบบนี้จะเหมาะกับงานอาคารที่มีขนาดใหญ่ เสาเข็มชนิดนี้อาจมีแรงฝืดช่วยในการรับแรงด้วย แต่ก็ถือเป็นส่วนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกันกับแรงต้านที่ปลาย

โดยที่เสาเข็ม SPUN MICRO PILE ของทางภูมิสยามนั้น สามารถที่จะจำแนกให้อยู่ได้ในประเภทของเสาเข็มตามประเภทของการรับกำลังได้ทั้ง 2 แบบ เพราะหากสังเกตดูจะพบว่าเสาเข็ม SPUN MICRO PILE ถึงจะมีขนาดหน้าตัดที่ค่อนข้างเล็กและกะทัดรัดพอสมควร เพราะ ว่าทางภูมิสยามต้องการที่จะใช้ประโยชน์ทางด้านน้ำหนักที่เบา สามารถที่จะขนย้ายเข้าไปยังหน้างานที่ยากลำบากได้ ต้องการให้เกิดแรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็มที่น้อยมากๆ แต่ ก็ยังได้รับการออกแบบให้มีเส้นรอบรูป และ ขนาดพื้นที่หน้าตัดที่มีขนาดเพียงพอต่อการรับกำลังด้วย ดังนั้นไม่ว่าปลายเสาเข็มจะวางอยู่ในชั้นดินใดก็ตาม ก็สามารถที่จะรับกำลังได้ทั้ง 2 รูปแบบตามที่วิศวกรได้ออกแบบเอาไว้

(2) การแบ่งประเภทของเสาเข็มตามประเภทของวัสดุที่ใช้ทำ

  • เสาเข็มไม้ (TIMBER PILE) เป็นเสาเข็มที่หาได้ง่าย มีน้าหนักเบา ราคาถูก สามารถที่จะขนส่งได้สะดวก มีความสามารถในการรับน้าหนักที่ค่อนข้างต่า จึงจำเป็นต้องตอกเสาเข็มเป็นกลุ่มๆ ซึ่งจะส่งผลให้มีฐานรากนั้นขนาดใหญ่ เมื่อเลือกใช้เสาเข็มประเภทนี้เราควรทำการตอกให้ต่ากว่าระดับน้ำใต้ดิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการผุกร่อนจากปลวก และ เห็ดรา ปัจจุบันนิยมใช้เสาเข็มไม้ที่ทำจากไม้สน และ ไม้ยูคาลิปตัส และ ตามท้องตลาดจะทำการระบุขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มเป็นนิ้ว และ ความยาวเป็นเมตร
  • เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก (REINFORCED CONCRETE PILE) โดยมากเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นเสาเข็มที่ทำการหล่อ ณ หน้างาน เช่น เสาเข็มเจาะ เสาเข็มชนิดนี้ เป็นเสาเข็มที่มุ่งเน้นให้เกิดผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงที่น้อยเนื่องจากการสั่นสะเทือนที่น้อยนั่นเอง จึงสามารถนำลงไปในดินได้ดีกว่าเสาเข็มชนิดตอก และยังสามารถควบคุมตำแหน่งได้ดีกว่าเสาเข็มตอกอีกด้วย แต่ก็จะมีราคาที่สูงกว่าในกรณีรับน้าหนักเท่ากัน เป็นต้น อีกประเภทหนึ่งก็คือเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กที่หล่อมาจากโรงงานซึ่งมักจะทำเป็นท่อนสั้นๆ เพื่อการขนส่งที่สะดวก เราต้องทำการออกแบบเหล็กเสริมตามยาวให้เพียงพอเพื่อรับโมเมนต์ดัด จากการเคลื่อนย้าย และการตอกปัจจุบันเราจะนิยมใช้เสาเข็มประเภทนี้สำหรับงานที่มีความจำเป็นจริงๆ เช่น งานต่อเติม เป็นต้น เรามักได้ยินบ่อยๆ ถึงเสาเข็มคอนกรีตแรงเหวี่ยง หรือ ที่เรียกกันทั่วไปว่าเสาเข็มสปัน เป็นเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยใช้คอนกรีตชนิดพิเศษที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูง ทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีและขั้นตอนตามปกติ จึงมีความแข็งแกร่งสูง รับน้าหนักได้มาก
  • เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (PRESTRESSED CONCRETE PILE) เป็นเสาเข็มที่อาศัยเทคนิคการดึงลวดรับแรงดึงแล้วค่อยทำการเทคอนกรีตลงไปในแบบ เมื่อคอนกรีตแข็งจนได้กาลังจึงทำการตัดลวดรับแรงดึง ทำให้เกิดแรงอัดในเสาเข็ม ด้วยวิธีการนี้จะช่วยลดปัญหาการแตกร้าวที่เกิดขึ้นในตัวของเสาเข็มได้ ซึ่งบางครั้งเราก็ทำการประยุกต์ใช้เทคนิคการสปัน หรือ คอนกรีตแรงเหวี่ยงเหมือนที่ทำในโครงสร้างเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก สำหรับเสาเข็มคอนกรีตแรงอัดแรงได้เช่นกัน โดยเราจะเรียกเสาเข็มชนิดนี้ว่า เสาเข็มคอนกรีตแรงเหวี่ยงอัดแรง
  • เสาเข็มเหล็ก (STEEL PILE) เป็นเสาเข็มที่ทำจากเหล็กทั้งท่อน มีความสามารถในการรับน้าหนักได้สูงกว่าเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และ ไม้ แต่ก็จะมีราคาที่ค่อนข้างแพง เราจะนิยมใช้เสาเข็มประเภทนี้กับงานโครงสร้างชั่วคราวที่ต้องรับน้าหนักมาก แต่ ก็ต้องทำการรื้อถอนออกในภายหลัง
  • เสาเข็มประกอบ (COMPOSITE PILE) เป็นเสาเข็มที่ประกอบด้วยวัสดุสองชนิดในต้นเดียวกัน จุดสาคัญของเสาเข็มชนิดนี้ คือ รอยต่อต้องมีความแข็งแรง และ สามารถถ่ายน้าหนักจากท่อนบนสู่ท่อนล่างได้เป็นอย่างดี

โดยที่เสาเข็ม SPUN MICRO PILE ของทางภูมิสยามนั้นสามารถที่จะจำแนกให้อยู่ได้ในประเภทของเสาเข็มตามประเภทของวัสดุที่ใช้ทำให้อยู่ในประเภทเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก เพราะว่าเสาเข็ม SPUN MICRO PILE ได้รับการออกแบบให้ใช้เป็นคอนกรีตสปันที่มีคุณสมบัติด้านการรับกำลังที่ดี และ มีการเสริมเหล็กภายในเพื่อรับแรงอัดตามแนวแกน และดัดที่เกิดขึ้นได้ และ หากต้องการจะเรียกชื่อเต็มๆ ของเสาเข็ม SPUN MICRO PILE ของภูมิสยามนั้น เราต้องเรียกว่า เสาเข็มคอนกรีตแรงเหวี่ยงเสริมเหล็กขนาดเล็ก (REINFORCED CONCRETE SPUN MICRO PILE) นั่นเอง

(3) ประเภทของเสาเข็มตามประเภทของรูปแบบการก่อสร้าง

  • เสาเข็มตอก (DRIVEN PILE) คือ การใช้ปั้นจั่นทำการตอกเสาเข็มลงไปในดินจนได้ความลึกตามที่ต้องการ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเนื่องจากวิธีการก่อสร้างไม่ซับซ้อน และค่าใช้จ่ายไม่สูง แต่ในปัจจุบันจะมีปัญหาในการก่อสร้างในพื้นที่ที่มีอาคารอยู่รอบข้าง เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนในการตอก และการเคลื่อนตัวของดินที่ถูกแทนที่ด้วยเสาเข็ม เนื่องจากการตอกเสาเข็มมักกระทำโดยผู้รับจ้างซึ่งอาจไม่ใช่วิศวกร การควบคุมการตอกจึงกระทำโดยขาดความรู้ได้จนนำมาซึ่งปัญหาในการทำงานได้
  • เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเจาะหล่อในที่ (BORED PILE) คือ เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กที่ก่อสร้างโดยหล่อคอนกรีตลงไปในดินที่ถูกเจาะเป็นหลุมไว้ล่วงหน้าให้เต็ม เป็นวิธีการก่อสร้างที่ช่วยแก้ปัญหาที่พบในการใช้เสาเข็มตอก ทั้งการขนย้ายเสาเข็มเข้าพื้นที่ก่อสร้าง การรบกวนอาคารรอบข้างเนื่องจากแรงสั่นสะเทือนจากการตอก รวมทั้งการควบคุมตำแหน่ง และ แนวของเสาเข็ม การเจาะเสาเข็มอาจกระทำได้โดยกระบวนการแห้ง (DRY PROCESS) คือ การเจาะโดยไม่ต้องใช้น้าช่วย สาหรับกรณีที่ดินข้างหลุมเจาะมีเสถียรภาพ โดยหากดินข้างหลุมเจาะพังทลาย ต้องใส่น้าผสมสาร เบนโทไนท์ หรือ โพลิเมอร์ ลงไปในหลุมเพื่อช่วยพยุงดินข้างหลุม เรียกว่ากระบวนการเปียก (WET PROCESS) สาหรับวิธีในการเจาะดินสามารถที่จะกระทำได้หลากหลายวิธี ได้แก่ การเจาะแบบหมุน (ROTARY TYPE) แบบขุด (EXCAVATION TYPE) และ การเจาะแบบทุ้งกระแทก (PERCUSSION TYPE) ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เหมาะกับการก่อสร้างขนาดเล็กในพื้นที่ซึ่งค่อนข้างจะคับแคบ การควบคุมคุณภาพของการก่อสร้างจะมีส่วนสาคัญอย่างมาก คือ การกำหนดตำแหน่งของเสาเข็ม การควบคุมแนวการเจาะให้ได้แนวดิ่ง ความสะอาดและเรียบร้อยของหลุมเจาะ การติดตั้งเหล็กเสริม และการเทคอนกรีต หากการก่อสร้างเสาเข็มเจาะกระทำโดยบริษัทที่ดี และมีประสบการณ์แล้วมักจะอาศัยวิศวกรโยธาเป็นผู้ควบคุมดู และ คุณภาพของงานเสาเข็มเจาะ ส่วนข้อเสียของเสาเข็มประเภทนี้ก็ประกอบด้วยหลายอย่างเช่นกัน เช่น การควบคุมคุณภาพของคอนกรีตที่ทำการหล่อในหลุมเจาะนั้นจะทำได้ดีเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยมากๆ มีเศษขี้ดินจากาารเจาะดิน ทำให้สถานที่การทำงาน ณ หน้างานเกิดความสกปรก ไม่สะอาดตา เป็นต้น
  • เสาเข็มเจาะเสียบ (AUGER PRESS PILE) เป็นการใช้เสาเข็มสาเร็จรูป ติดตั้งโดยการเจาะดินให้เป็นรูขนาดเล็กกว่าขนาดเสาเข็มเล็กน้อยแล้วก็ทำการกดเสาเข็มลงไปในรู เป็นการแก้ปัญหาการสั่นสะเทือน และ การเคลื่อนตัวของดิน วิธีการนี้สามารถที่จะใช้การตอกแทนการกดได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปัญหาการสั่นสะเทือน และ การเคลื่อนตัวของดินแล้ว ยังช่วยในกรณีที่ต้องตอกเสาเข็มผ่านชั้นดินที่มีค่าความแข็งแรงมากๆ ได้อีกด้วย วิธีการนี้นิยมใช้เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยง ซึ่งมีรูกลวงตรงกลาง โดยในระหว่างที่ทำการกดเสาเข็มลงไปนั้น ตัวหัวสว่านซึ่งใส่อยู่ในรูเสาเข็มก็จะทำการหมุนเพื่อนำดินขึ้นมา เมื่อกดเสาเข็มพร้อมกับเจาะดินจนเสาเข็มจมลงใกล้ระดับที่ต้องการก็จะหยุดการกด จากนั้นก็ดึงดอกสว่านออกแล้วตอกด้วยลูกตุ้มจนได้ระดับที่ต้องการ

โดยที่เสาเข็ม SPUN MICRO PILE ของทางภูมิสยามนั้นสามารถที่จะจำแนกให้อยู่ได้ในประเภทของเสาเข็มตามประเภทของรูปแบบการก่อสร้างให้อยู่ในประเภทเสาเข็มตอก เพราะว่าเสาเข็ม SPUN MICRO PILE ได้รับการออกแบบให้ใช้วิธีในการตอกเพื่อนำเสาเข็มลงไปในดิน วิธีนี้ถือเป็นวิธีที่มีต้นทุนต่ำที่สุด แต่ก็ยังสามารถที่จะควบคุมคุณภาพได้ทั้ง ก่อน และ หลัง การตอกเสาเข็มอีกด้วย

Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam